คำบูชาพระรัตนตรัย (สวดเฉพาะบาลี)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า,
ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ)
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว, ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์
บทนมัสการพระพุทธเจ้า (สวดเฉพาะบาลี)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ (สวดเฉพาะบาลี)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
สัตถา เทวะมะ นุสสานัง, พุทโธ ภะคะวา ติ
แม้เพราะเหตุนั้น,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ)
เป็นผู้เสด็จไปแล้วด้วยดี (คือ ไปที่ใดยังประโยชน์ให้ที่นั้น)
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก,
โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย,
ทักขิเณยโย, อัญชะลีกะระณีโย,
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา..ติ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ได้แก่ บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่
นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ (คือพระอริยบุคคล ๘) นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
กุศลกรรมบถ: มาตรฐานของมนุษย์
ข้าพเจ้า, ขอสมาทานกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ, เป็นมาตรฐานคุณภาพชีวิตดังนี้,
๑. ไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง, ไม่ยุให้ผู้อื่นฆ่า, และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักฆ่าสัตว์,
๒. ไม่ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่น, โดยที่เจ้าของไม่อนุญาตด้วยตนเอง, ไม่ยุให้ผู้อื่นถือเอา, และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักถือเอาของของเขา
๓. ไม่ละเมิดบุตรและภรรยาของผู้อื่น, ไม่ยุให้ผู้อื่นละเมิด, และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักละเมิด,
๔. ไม่พูดวาจาที่ไม่มีความจริง, ไม่ยุให้ผู้อื่นพูดวาจาที่ไม่มีความจริง, และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักพูดวาจาที่ไม่มีความจริง
๕. ไม่พูดวาจาหยาบคาย, ไม่ยุให้ผู้อื่นพูดวาจาหยาบคาย, และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักพูดวาจาหยาบคาย
๖. ไม่พูดวาจาส่อเสียด, ยุยงให้ผู้ใดแตกร้าวกัน, ไม่ยุให้ผู้อื่นพูดวาจาส่อเสียด, ยุยงให้แตกร้าวกัน, และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักพูดวาจาส่อเสียด, ยุยงให้แตกร้าวกัน
๗. ไม่พูดวาจาเพ้อเจ้อ, ไม่มีประโยชน์, ไม่ยุให้ผู้อื่นพูดวาจาเพ้อเจ้อ, ไม่มีประโยชน์, และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักพูดวาจาเพ้อเจ้อ, ไม่มีประโยชน์
๘. ไม่คิดเพ่งอยากได้ ในสิทธิ์ของผู้ใด, ไม่ยุให้ผู้อื่นคิดเพ่งอยากได้, และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักคิดเพ่งอยากได้
๙. ไม่พยาบาทจองเวรผู้ใด, ไม่ยุให้ผู้อื่นพยาบาท จองเวรผู้ใด, และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักพยาบาท จองเวรผู้ใด
๑๐. มีความเห็นตรงต่อสัมมาธรรม, สัมมาปฏิปทา, ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า, ไม่มีจิตยินดีในมิจฉาธรรม, ไม่ยุให้ผู้อื่นสมาทานมิจฉาธรรม, และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นจักสมาทานมิจฉาธรรม
กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้, คือมาตรฐานคุณภาพชีวิตของข้าพเจ้า, ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
บทแผ่เมตตาให้ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, มีความสุข
นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากความทุกข์กายและทุกข์ใจ
อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากเวรและกรรม
อัพพะยาปัชโช โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้า, จงมีสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ, รักษากาย, วาจา, ใจ, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์, เกิดแก่เจ็บตาย, ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อะโรคา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความเจ็บไข้, ลำบากกาย, ลำบากใจเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตัวของตน, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด