บทสวดมนต์ประจำวันพฤหัส

คำบูชาพระรัตนตรัย (สวดเฉพาะบาลี)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, 
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า,ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
 
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, 
ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ)
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม
 
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว, ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์


บทนมัสการพระพุทธเจ้า (สวดเฉพาะบาลี)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, 
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
  
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, 
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง


บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ (สวดเฉพาะบาลี)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
สัตถา เทวะมะ นุสสานัง,  พุทโธ ภะคะวา ติ
แม้เพราะเหตุนั้น,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ)
เป็นผู้เสด็จไปแล้วด้วยดี (คือ ไปที่ใดยังประโยชน์ให้ที่นั้น)
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้
 
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, 
สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, 
โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
 
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย,
ทักขิเณยโย, อัญชะลีกะระณีโย,
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา..ติ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ได้แก่ บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่
นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ (คือพระอริยบุคคล ๘) นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

บทโพชฌงคปริตร
โพชฌังโค สะติสังขาโต, 
ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ, สติสัมโพชฌงค์, ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์
 
วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ, 
โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
วิริยะสัมโพชฌงค์, ปีติสัมโพชฌงค์, ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
 
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา, 
สัตเตเต สัพพะทัสสินา
สมาธิสัมโพชฌงค์, และอุเบกขาสัมโพชฌงค์, ๗ ประการเหล่านี้
 
มุนินา สัมมะทักขาตา, 
ภาวิตา พะหุลีกะตา
เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า, ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง, ตรัสไว้ชอบแล้ว
 
สังวัตตันติ อะภิญญายะ, 
นิพพานายะ จะ โพธิยา
อันบุคคลเจริญแล้ว, กระทำให้มากแล้ว, ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง, เพื่อความตรัสรู้, และเพื่อนิพพาน
 
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, 
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ขอความสวัสดี, จงบังเกิดมีแก่ท่าน, ตลอดกาลทุกเมื่อ
 
เอกัสมิง สะมะเย นาโถ, 
โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง,  
คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา, 
โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
ในสมัยหนึ่ง, พระโลกนาถเจ้า, ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ, และพระมหากัสสปะ, เป็นไข้, ได้รับความลำบาก, จึงทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ, ให้ท่านทั้งสองฟัง
 
เต จะ ตัง อะภินันทิตวา, 
โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
ท่านทั้งสองนั้น, ชื่นชมยินดียิ่ง, ซึ่งโพชฌังคธรรม, โรคก็หายได้ในบัดดล
 
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, 
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ขอความสวัสดี, จงบังเกิดมีแก่ท่าน, ตลอดกาลทุกเมื่อ
 
เอกะทา ธัมมะราชาปิ, 
เคลัญเญนาภิปีฬิโต,  
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ, 
ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
ในครั้งหนึ่ง, องค์พระธรรมราชาเอง, (พระพุทธเจ้า), ทรงประชวรเป็นไข้หนัก, รับสั่งให้
 
พระจุนทะเถระ, กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแล, ถวายโดยเคารพ
สัมโมทิตวา จะ อาพาธา, 
ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย, หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน
 
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, 
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ขอความสวัสดี, จงบังเกิดมีแก่ท่าน, ตลอดกาลทุกเมื่อ
 
ปะฮีนา เต จะ อาพาธา, 
ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
ก็อาพาธทั้งหลายนั้น, ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่, ทั้ง ๓ องค์นั้น, หายแล้วไม่กลับเป็นอีก
 
มัคคาหะตะกิเลสาวะ, 
ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
ดุจดังกิเลส, ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว, ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา
 
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, 
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ขอความสวัสดี, จงบังเกิดมีแก่ท่าน, ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ

บทแผ่เมตตาให้ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, มีความสุข
 
นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากความทุกข์กายและทุกข์ใจ
 
อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากเวรและกรรม
 
อัพพะยาปัชโช โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
 
สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้า, จงมีสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ, รักษากาย, วาจา, ใจ, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
 
บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์, เกิดแก่เจ็บตาย, ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
 
อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
 
อะโรคา โหนตุ 
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความเจ็บไข้, ลำบากกาย, ลำบากใจเลย
 
อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
 
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
 
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตัวของตน, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

สมาทานกรรมฐาน
ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิฐานดังนี้
ข้าพเจ้าขอน้อมถวายปฏิบัติบูชา, แด่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์, พระนิพพานธรรมอันบริสุทธิ์, และพระอรหันตาจารย์เจ้าทุกท่าน, ด้วยการเจริญสมถะ, วิปัสสนา, วิราคะกรรมฐาน, 

ข้าพเจ้าจักปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง, ตรงต่อศีล, สติ, สมาธิ, ปัญญา, ขออาราธนาพระพุทธานุภาพ, พระธรรมานุภาพ,   พระสังฆานุภาพ, และบุญบารมีของข้าพเจ้า, เพื่อเจริญอุปสมานุสติ, เข้าถึงกระแสธรรมแห่งพระนิพพานด้วยเทอญ