คำบูชาพระรัตนตรัย (สวดเฉพาะบาลี)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า,
ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ)
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว, ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์
บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ (สวดเฉพาะบาลี)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
สัตถา เทวะมะ นุสสานัง, พุทโธ ภะคะวา ติ
แม้เพราะเหตุนั้น,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ)
เป็นผู้เสด็จไปแล้วด้วยดี (คือ ไปที่ใดยังประโยชน์ให้ที่นั้น)
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก,
โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย,
ทักขิเณยโย, อัญชะลีกะระณีโย,
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา..ติ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ได้แก่ บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่
นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ (คือพระอริยบุคคล ๘) นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
บทบูชาพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ (สวดเฉพาะบาลี)
นะโม เม สัพพะพุทธานัง
อุปปันนานัง มะเหสินัง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ซึ่งได้อุบัติแล้ว คือ
ตัญหังกะโร มะหาวีโร
เมธังกะโร มะหายะโส
พระตัณหังกรผู้กล้าหาญ
พระเมธังกรผู้มียศใหญ่
สะระณัง กะโร โลกะหิโต
ทีปังกะโร ชุตินธะโร
พระสรณังกรผู้เกื้อกูลต่อชาวโลก
พระทีปังกรผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข
มังคะโล ปุริสาสะโภ
พระโกณฑัญญะผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
พระมังคละผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
สุมะโน สุมะโน ธีโร
เรวะโต ระติวัฑฒะโน
พระสุมนะผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหฤทัยงาม
พระเรวะตะผู้เพิ่มพูนความยินดี
โสภีโต คุณะสัมปันโน
อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
พระอโนมทัสสีผู้สูงสุดอยู่ในหมู่ชน
ปะทุโม โลกะปัชโชโต
นาระโท วะระ สาระถี
พระปทุมะผู้ทำให้โลกสว่าง
พระนารทะผู้เป็นสารถีประเสริฐ
ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร
สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
พระปทุมุตตระผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์
พระสุเมธะผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
สุชาโต สัพพะโลกัคโค
ปิยะทัสสี นะราสะโภ
พระสุชาตะผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
พระปิยทัสสีผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
อัตถะทัสสี การุณิโก
ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
พระอัตถทัสสีผู้มีพระกรุณา
พระธรรมทัสสีผู้บรรเทาความมืด
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
พระสิทธัตถะผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
พระติสสะผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ
วิปัสสี จะ อะนูปะโม
พระปุสสะผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
พระวิปัสสสีผู้ที่หาเปรียบมิได้
สิขี สัพพะหิโต สัตถา
เวสสะภู สุขะทายะโก
พระสิขีผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
พระเวสสภูผู้ประทานความสุข
กะกุสันโธ สัตถะวาโห
โกนาคะมะโน ระณัญ ชะโห
พระกกุสันโธผู้นำสัตว์ออกจากสันดานตัวกิเลส
พระโกนาคมนะผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส
กัสสะโป สิริสัมปันโน
โคตะโม ศากยะปุงคะโว
พระกัสสปะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
พระโคตมะผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช
เตสาหัง สิระสา ปาเท,
วันทามิ ปุริสุตตะเม,
วะจะสา มะนะสา เจวะ,
วันทาเมเต ตะถาคะเต,
สะยะเน อาสะเน ฐาเน,
คะมะเน จาปิ สัพพะทา
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระบาท
ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้า
ผู้เป็นบุรุษอันสูงสุด ผู้เป็นตถาคต
ด้วยวาจาและใจทีเดียว
ทั้งในที่นอน ในที่นั่ง ในที่ยืน
และแม้ในที่เดินด้วยในกาลทุกเมื่อ
บทแผ่เมตตาให้ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, มีความสุข
นิททุกโข โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า,
ปราศจากความทุกข์กายและทุกข์ใจ
อะเวโร โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากเวรและกรรม
อัพพะยาปัชโช โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้า, ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้า, จงมีสติและสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ, รักษากาย, วาจา, ใจ, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์, เกิดแก่เจ็บตาย, ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อะโรคา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความเจ็บไข้, ลำบากกาย, ลำบากใจเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด, อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตัวของตน, ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด